Sponsor

  • น้ำตกห้วยตาด

    ห้วยตาด น้ำตกห้วยตาด ตั้งอยู่ บริเวณบ้านห้วยปูพัฒนา หมู่ที่ 8 ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นน้ำตกขนาดกลาง 1 ชั้นตั้งอยู่กลางป่า บริเวณบ้านห้วยปูพัฒนา หมู่ที่ 8 บริเวณที่ตั้งน้ำตกมีสภาพป่าธรรมชาติ นักท่องเที่ยวต้องเดินทางด้วยเท้าเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนมากมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมเดินป่าเข้าไปเที่ยวชมและแวะพักชม ความสวยงามของน้ำตกที่เย็นสบาย แล้วเลยไปพักบ้านมูเซอซึ่งมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้บริการบริเวณใกล้เคียงกัน

     

    แผนที่


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

    more
  • ถ้ำผาตอง

    cheingrai ถ้ำผาตอง บ้านถ้ำผาตอง ตำบลท่าสุด จากตัวเมืองเชียงรายไปตามถนนเชียงราย-แม่จัน ๑๙ กิโลเมตร เลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ ๘๔๘ หน้าวัดแม่ข้าวต้มท่าสุด ไปอีก ๓ กิโลเมตร นอกจากถ้ำผาตองแล้วยังมีถ้ำสายธาร ถ้ำแม่ครัว จุดน่าสนใจคือ กลุ่มแกะสลักไม้กระบวยตักน้ำกะลามะพร้าว มีด้ามไม้สักแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ที่แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนา

     

    ขอบคุณข้อมูลจาก www.sadoodta.com

     

     


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

    more
  • หาดนพรัตน์ธารา

    20081214104052213 หาดนพรัตน์ธารา ตั้งอยู่ในเขต

    -หมู่เกาะพีพี เดิมเรียกว่า “หาดคลองแห้ง” เหตุที่ชื่อนี้เนืองมาจาก ช่วงน้ำลงน้ำคลองที่ไหลมาจากภูเขาทองด้านเหนือจะแห้งขอด กลายเป็นหาดทรายขาวเหยียดทอดลงไปในทะเลบรรจบกับเกาะเขาปากคลอง อยู่ห่างจากตัวเมือง 18 ก.ม. ชายหาดมีความยาวเกือบ 3 ก.ม. ส่วนชื่อ “หาดนพรัตน์ธารา” มาจากเมื่อ พ.ศ.2503 จอมพลฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มาพักผ่อนและเกิดความประทับใจในความงามเป็นธรรมชาติของชายหาด จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หาดนพรัตน์ธารา” นอกจากนี้หาดนพรัตน์ธารายังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยชักตีนที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากจังหวัดกระบี่ เพียง 17 กิโลเมตร เท่านั้น


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

     

    del.icio.us Tags:

    LiveJournal Tags:

    Technorati Tags:

    more
  • ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพ

    star_big ความเป็นมาของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

    ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ตั้งอยู่ที่ 928 ถ. สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล. ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่า การ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ สร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญ มีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจน เป็นแหล่งที่เยาวชน สามารถไปชุมนุมหา ความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจาก ของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็ว กว่าการสอนด้วย ปากเปล่า ทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็น เจ้าของใน การก่อสร้างและดำเนินการ ต่อไป

    คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคมพ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อ สร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรง ประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและ ทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ห้องฉายดาว และ ส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว

    spd_20091120114824_b ห้องฉายดาวเป็นห้องวงกลมขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20.60 เมตร หลังคาเป็นรูปโดม สูง 13 เมตร เพดานโดมเป็นแผ่นอลูมิเนียมพรุน ทาสีขาวเพื่อรับแสง ที่ฉายออกจากเครื่องฉายดาวปรากฎเป็น ดวงดาวใน ท้องฟ้าจำลอง คล้ายกับดวงดาวในท้องฟ้าจริง ความจุ 370 ที่นั่ง ตรงกลางห้อง ตั้งเครื่องฉายดาวระบบเลนส์ของ Carl Zeiss ของบริษัทคาร์ล ไซซ์ ประเทศเยอรมนี

    box เครื่องฉายดาว นับเป็นประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่มีระบบการทำงาน ซับซ้อน ประกอบด้วยระบบ เครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีต ฉายภาพวัตถุท้องฟ้า และปรากฎการหลายชนิด เลียนแบบธรรมชาติ สามารถ ปรับเครื่องขึ้นลง เพื่อแสดงดวงดาวในท้องฟ้า ของประเทศใดก็ได้ตามวัน เวลาที่ต้องการ ทั้งดวงดาวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และยังเป็นเครื่องฉายดาว ขนาดใหญ่เครื่องแรก ในย่านเอเซียอาคเนย์ด้วย

     

    Bangkokangkokplanetarium

    แผนที่

     


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

     

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bangkokplanetarium.com/  http://th.wikipedia.org/ และ http://www.sci-educ.nfe.go.th/

     

    more
  • ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

    news20090403171823

    ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center - QSNCC) ตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงงานยาสูบเดิม

    ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สร้างขึ้นเพื่อรองรับการประชุมของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ครั้งที่ 46 เมื่อวันที่ 1-15 ตุลาคม พ.ศ. 2534 รัฐบาลไทยเริ่มดำเนินงานโครงการนี้เมื่อ พ.ศ. 2532 และใช้เวลาการก่อสร้างมากกว่าสองปีจึงแล้วเสร็จ

    ชื่อของศูนย์ประชุมตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเปิดศูนย์ประชุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534

    หลังจากการประชุมธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟเสร็จสิ้นลง ก็ได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานประชุม งานแสดงสินค้าต่าง ๆ มากมายทั้งระดับนานาชาติและในประเทศ

     


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

     

     

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/

     

    more

Ads