Sponsor

  • ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพ

    star_big ความเป็นมาของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

    ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ตั้งอยู่ที่ 928 ถ. สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล. ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่า การ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ สร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญ มีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจน เป็นแหล่งที่เยาวชน สามารถไปชุมนุมหา ความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจาก ของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็ว กว่าการสอนด้วย ปากเปล่า ทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็น เจ้าของใน การก่อสร้างและดำเนินการ ต่อไป

    คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคมพ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อ สร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรง ประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและ ทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ห้องฉายดาว และ ส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว

    spd_20091120114824_b ห้องฉายดาวเป็นห้องวงกลมขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20.60 เมตร หลังคาเป็นรูปโดม สูง 13 เมตร เพดานโดมเป็นแผ่นอลูมิเนียมพรุน ทาสีขาวเพื่อรับแสง ที่ฉายออกจากเครื่องฉายดาวปรากฎเป็น ดวงดาวใน ท้องฟ้าจำลอง คล้ายกับดวงดาวในท้องฟ้าจริง ความจุ 370 ที่นั่ง ตรงกลางห้อง ตั้งเครื่องฉายดาวระบบเลนส์ของ Carl Zeiss ของบริษัทคาร์ล ไซซ์ ประเทศเยอรมนี

    box เครื่องฉายดาว นับเป็นประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่มีระบบการทำงาน ซับซ้อน ประกอบด้วยระบบ เครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีต ฉายภาพวัตถุท้องฟ้า และปรากฎการหลายชนิด เลียนแบบธรรมชาติ สามารถ ปรับเครื่องขึ้นลง เพื่อแสดงดวงดาวในท้องฟ้า ของประเทศใดก็ได้ตามวัน เวลาที่ต้องการ ทั้งดวงดาวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และยังเป็นเครื่องฉายดาว ขนาดใหญ่เครื่องแรก ในย่านเอเซียอาคเนย์ด้วย

     

    Bangkokangkokplanetarium

    แผนที่

     


    ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

     

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bangkokplanetarium.com/  http://th.wikipedia.org/ และ http://www.sci-educ.nfe.go.th/

     

0 ความคิดเห็น:

Leave a Reply

Ads